เมนู

ว่าด้วยสุขเวทนาที่เป็นวิบากเป็นปัจจัย


แต่เพราะในนิเทศว่า เวทนาปจฺจยา
ตณฺหา ทรงประสงค์เอาสุขเวทนาที่เป็น
วิบากอย่างเดียวเท่านั้น ฉะนั้น เวทนานี้จึง
เป็นปัจจัยต่างเดียวเท่านั้นแก่ตัณหา.

คำว่า เป็นปัจจัยอย่างเดียว คือเป็นปัจจัยด้วยอุปนิสสยปัจจัย.

ว่าด้วยเวทนา 3 เป็นปัจจัย


อีกอย่างหนึ่ง เพราะว่า
คนมีทุกข์ ย่อมปรารถนาสุข คนมี
สุข ก็ย่อมปรารถนาสุขแม้ยิ่งขึ้นไป ส่วน
อุเบกขาตรัสว่า สุขนั่นแหละ เพราะเป็น
ธรรมสงบ.

ฉะนั้น เวทนาแม้ทั้ง 3 จึงเป็นปัจจัย
แก่ตัณหา พระมหาฤาษี จึงตรัสว่า ตัณหา
เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย.

อนึ่ง เพราะเว้นอนุสัยเสีย แล้ว
ตัณหาย่อมไม่เกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ฉะนั้น ตัณหานั้นจึงไม่มีแก่พราหมณ์ผู้จบ
พรหมจรรย์แล.

นิเทศตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย จบ

ว่าด้วยนิเทศอุปาทาน

(บาลีข้อ 264)
พึงทราบวินิจฉัยนิเทศอุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัยต่อไป.
บัณฑิตพึงชี้แจงอุปาทาน 4 เหล่านั้น
โดยการจำแนกโดยอรรถ โดยย่อและพิสดาร
แห่งธรรม และโดยลำดับ.

จริงอยู่ ในพระบาลี ทรงยกอุปาทาน 4 เหล่านั้นขึ้น ด้วยพระดำรัส
ที่ตรัสว่า คำว่า อุปาทาน ได้แก่ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน
อัตตวาทุปาทาน.

ว่าด้วยการจำแนกโดยอรรถ


การจำแนกโดยอรรถแห่งอุปาทาน 4 เหล่านั้น ดังนี้
ธรรมที่ชื่อว่า กามุปทาน เพราะอรรถว่า ยึดมั่นกามกล่าวคือ
วัตถุกาม. อนึ่ง กามนั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
กามุปาทาน.
คำว่า อุปาทาน ได้แก่การยึดมั่น เพราะอุปศัพท์ในคำว่า อุปาทาน
นี้ มีอรรถว่ามั่น เหมือนในศัพท์มีคำว่า อุปายาส (ความดับแค้นใจ)
อุปกัฏฐะ (เวลาใกล้เข้ามาแล้ว ) เป็นต้น. อนึ่ง ทิฏฐินั้น ด้วยเป็นอุปาทาน
ด้วย จึงชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน เพราะ
อรรถว่า ยึดมั่นทิฏฐิ เพราะทิฏฐิหลังย่อมยึดมั่นทิฏฐิแรก เหมือนในประโยค
มีอาทิว่า "อัตตาและโลกเที่ยง" เป็นต้น. อนึ่ง ที่ชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน
เพราะอรรถว่า ยึดมั่นศีลและพรต. ศีลและพรตนั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย
ดังนี้ก็ชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน เพราะโคศีล (ปรกติของโค) โควัตร